ก่อนทำธุรกิจสกรีนเสื้อต้องรู้ต้องรู้อะไรบ้าง ‼ " งานสกรีนเสื้อแต่ละประเภท มีข้อดี - ข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร "
งานสกรีนเสื้อมีหลายประเภทหลักๆ ก็จะมี 3 ประเภทด้วยกันซึ่งแต่ละแบบก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป วันนี้เราจะไปเจาะลึกถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละประเภทกันจ้า
ประเภทของงานสกรีนเสื้อมีดังนี้
- ประเภทซิลค์สกรีน (Silk Screen)
- ประเภท DTG (Direct to Garment)
- ประเภทรีดร้อน (Heat Transfer)
ประเภทซิลค์สกรีน (Silk Screen)
Silk Screen เป็นการพิมพ์สกรีนโดยต้องใช้บล็อคในการสกรีน โดยกำหนดเป็น 1 สี ต่อ 1 บล็อค หากต้องการงานสกรีน 4 สี ต้องใช้ 4 บล็อค ซึ่งเหมาะกับการสกรีนเสื้อ หรือชิ้นส่วนของกระเป๋า ที่มีจำนวนมาก เนื่องจากเมื่อสร้างบล็อคขึ้นมาบล็อคนึงแล้ว สามารถนำไปสกรีนในครั้งต่อๆไปได้
ข้อดีระบบ SILK SCREEN
- สามารถสกรีนบนวัสดุได้หลากหลาย เช่น ผ้าได้ทุกชนิด ไม้ MDF ไม้สัก เหล็ก ถุงผ้าดิบ พลาสติกแทบทุกประเทภ หนังเทียม (หนัง PVC / PU) และอื่นๆอีกมากมายเหมาะกับงานสกรีนในปริมาณมาก
- ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดงานสกรีน โดยสามารถกำหนดขนาดงานสกรีน ได้ตั้งแต่ 0.5 เซนติเมตร จนถึง 4 เมตร ซึ่งในกรณีที่งานสกรีนมีขนาดใหญ่ ขนาดบล็อคที่ใช้ต้องมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย ซึ่งถ้าบล็อคมีขนาดใหญ่ ควรจะมีจำนวนชิ้นงานในปริมาณมาก เพื่อให้ต้นทุนต่อชิ้นงานนั้น ถูกลง
- เหมาะกับการสกรีนจำนวนมากๆ แต่ไม่เน้นความละเอียดสูง เพราะราคาถูก
- จะได้สีสด และคงทนมาก ให้สีที่สดใส และติดทน นานกว่างานพิมพ์ประเภทอื่นๆ
ข้อเสียระบบ SILK SCREEN
เนื่องด้วยงานสกรีนแบบ silk screen เป็นการนำสีมาสกรีนตามบล็อคที่ได้สร้างไว้
- งานสกรีนจึงมีโอกาสแตกลาย หรือหลุดลอกได้ หากไม่ดูแลรักษาหรือใช้งานผิดวิธี
- ความละเอียดของงานและความสะอาดของเสื้อ เพราะว่าการพิมพ์ผ่านตาข่ายนั้นขนาดไม่เล็กเกินไปทำให้เป็นรอยหยึกหยักภาพไม่คมได้
- ไม่สามารถสกรีนตัวหนังสือเล็กๆ ได้ งานสกรีนบางทีอาจจะขาดหายไม่เท่ากัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะข้อจำกัดของสีและตาข่ายบล็อคสกรีน
- เรื่องความสะอาดของเสื้อ เนื่องจากการสกรีนต้องวางเสื้อบนโต๊ะซึ่งต้องติดกาวเอาไว้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค หรือหากใช้กาวไม่ดีกาวก็จะติดเสื้อได้
- จำนวนในการทำบล็อคสกรีนจะมากตามจำนวนสี ยิ่งมีจำนวนสีในงานสกรีนมีมากเท่าไหร จำนวนในการทำบล็อคสกรีนยิ่งมากตามจำนวนสีที่ต้องการสกรีน
- ไม่เหมาะกับการทำเสื้อยืดจำนวนน้อย เพราะอาจเป็นภาระต้นทุนของผู้ผลิต เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะ ฝีมือในการแกะบล็อคสกรีน และปาดสีสกรีนลงบนผ้า
ประเภท DTG (Direct to Garment)
เป็นการพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น โดยใช้วิธีการสกรีนแบบพิมพ์ภาพลงไปยังเนื้อผ้าโดยตรง ด้วยเครื่องพิมพ์ผ้าโดยเฉพาะ หรือเรียกอีกอย่างว่าระบบ DTG (Direct to Garment) ซึ่งจะได้งานสกรีนที่สวยงาม คมชัด ไร้ข้อจำกัดเรื่องสีของผ้าที่ต้องการสกรีน เนื่องจากสกรีนได้บนผ้าทุกสี ไม่ว่าจะเป็นผ้าสีอ่อน หรือผ้าสีเข้ม
สกรีน DTG คือ การใช้หมึกเฉพาะ พิมพ์ลงเสื้อโดยตรงแล้วอบด้วยความร้อน เพื่อให้สีแห้งสนิทและติดทน คุณภาพของสีพิมพ์จะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดบนผ้าคอตตอน100%เท่านั้น สีที่เหมาะกับการสกรีน DTG คือสีขาว เปรียบให้เห็นภาพเหมือนการใช้เครื่องพรินต์พิมพ์หมึกลงกระดาษขาว ให้สีติดง่ายกว่าและได้ภาพที่สวยงามกว่ากระดาษสีเข้ม
ข้อดีระบบดิจิตอลแบบ DTG
- สกรีนได้หลายสี หมึกซึมไปในเส้นใยผ้า โดยเฉพาะ สามารถพิมพ์ผ้าเข้มหรือผ้าดำได้ โดยมีกระบวนการเตรียมงานและเครื่องพิมพ์รองพื้นด้วยหมึกขาวก่อน
- ภาพสวย สกรีนคมชัด รูปถ่ายหรือภาพเหมือนจริง เป็นกระบวนการสกรีนเสื้อที่สกรีนภาพออกมาได้ดีที่สุดแล้วในปัจจุบันนี้ พิมพ์ลงบนเนื้อผ้า Cotton 100% เท่านั้นจะดีที่สุด สำหรับเนื้อผ้าชนิดอื่น ความคมชัดจะลดลง
- สกรีนบนเสื้อได้ทุกสีพิมพ์งานจำนวนน้อยได้ โดยไม่ต้องอัดบล็อคสกรีนลายสกรีนเสื้อจะสีเดียวหรือหลายสี ก็ราคาเท่ากันปัจจุบันได้รับความนิยมมาก เนื่องจากได้ภาพเสมือนจริงตามไฟล์ เช่น ภาพคน ภาพวิว มีความคมชัดมาก
ข้อเสียระบบดิจิตอลแบบ DTG
- ถ้าสกรีนงานในปริมาณมาก จะมีราคาสูงกว่างานสกรีนแบบซิลค์สกรีนและทรานเฟอร์์ ขนาดงานสกรีนค่อนข้างจำกัด ไม่เกิน 50cm. x 50cm.
- เครื่องพิมพ์มีราคาแพงมาก และต้องการการบำรุงรักษามาก
- ต้นทุนหมึกสูง
- ต้องใช้ทักษะในการทำงานสูงหากผู้ใช้ง่านไม่มีความเข้าใจในการเตรียมงานจะทำให้งานพิมพ์ออกมาไม่ดีพอถ้าพิมพ์งานปริมาณมาก ราคาจะแพงกว่าระบบซิลค์สกรีนและระบบรีดร้อน
- ขนาดพิมพ์มีข้อจำกัด คือพิมพ์ได้ไม่เกินขนาด 50 cm x 50 cm
ประเภทรีดร้อน (Heat Transfer)
งานTransfer เป็นงานที่ปริ้นลงกระดาษแล้วนำมารีด เป็นการสกรีนโดยพิมพ์ลวดลายหรือรูปภาพที่ต้องการสกรีนลงบนกระดาษทรานเฟอร์ ด้วยหมึก Pigment แล้วนำมาสกรีนบนผ้าด้วยเครื่องรีดร้อน (Heat press) ใช้ความร้อนส่งผ่านน้ำหมึกลงบนผ้า แต่เนื้อผ้าต้องมีส่วนผสมของโพลีเอสเตอร์ด้วย ยิ่งหากเป็นโพลีเอสเตอร์ (Polyester) 100% จะดีมาก สีจะเข้ม แต่ถ้าหากเป็นผ้าที่มีส่วนผสมของผ้าคอตตอน (Cotton) สีจะอ่อนลงตามเปอร์เซ็นต์ของผ้าคอตตอน ด้วยความที่ใช้หลักการนำสีไประเหิดเข้ากับเส้นผ้าในโพลีเอสเตอร์
โดยภาพหรือลวดลายบนกระดาษทรานเฟอร์ จะสกรีนติดลงบนเนื้อผ้าได้อย่างสวยงาม ความแตกต่างระหว่างการพิมพ์สกรีนตรงอย่างซิลค์สกรีนและการพิมพ์ทรานเฟอร์นั้น คือ การทำการทำบล็อกสกรีน ซึ่งจะต้องทำกลับด้านกันกับการพิมพ์สกรีนตรง ทั้งนี้ก็เพราะเราต้องทำการพิมพ์สกรีนลวดลายต่างๆที่ต้องการ ลงบนวัสดุอย่างเช่นฟิล์มหรือกระดาษ ทรานเฟอร์ โดยที่ลำดับการพิมพ์สกรีนแต่ละสีนั้น ก็ต้องเรียงลำดับก่อนหลังของบล็อกสกรีนให้ตรงกันข้ามกับการพิมพ์สกรีนตรง และในขั้นตอนสุดท้ายของการพิมพ์สกรีนทรานเฟอร์จะต้องทำการพิมพ์สกรีนแป้งกาวทรานเฟอร์หรือโรยผงกาวลงไปด้วย
ข้อดีระบบ Transfer
- สามารถสกรีนจำนวนน้อยได้ ไม่จำกัดสีที่ใช้สกรีนลงบนสีของผ้าและเนื้อผ้า
- เหมาะสาหรับงานสกรีนที่ต้องการความละเอียดสูง สามารถสกรีนได้หลากหลายสี
- พิมพ์งานจำนวนน้อยได้ โดยไม่ต้องอัดบล็อคสกรีน
- ลายสกรีนเสื้อจะสีเดียวหรือหลายสี ก็ราคาต้นทุนเท่ากัน
- การใช้งานง่ายไม่ต้องชำนาญมากก็สามารถทำได้
ข้อเสียระบบ Transfer
- ไม่สามารถใช้เตารีด รีดลงบนผ้าด้านที่สกรีนภาพได้โดยตรง ต้องรีดโดยการกลับด้าน งานสกรีนมีโอกาสแตก หลุดลอก เนื่องจากเป็นการสกรีนโดยภาพหรือลวดลายติดอยู่บนพื้นผิวของเนื้อผ้า ไม่ได้ซึมซับเข้าไป เนื้องานสกรีนจะมีลักษณะแข็งๆ
- กระดาษที่ Transfer สามารถหลุดลอกออกได้ หากใช้วัสดุไม่ดี
- เนื้องานอาจจะมีความแข็งกระด้าง และมีโอกาสที่จะหลุดลอก หากเลือกวัสดุไม่ดี
- ถ้าพิมพ์งานปริมาณมาก ราคาจะแพงกว่าระบบซิลค์สกรีน
- กระดาษและหมึกบางชนิดยังจำกัดเนื้อผ้าและสีผ้าอยู่บ้าง
สรุปแล้วงานสกรีนเสื้อมีกี่ประเภท
ปัจจุบันเรามีเครื่องมือช่วยในการทำงานสกรีนหลากหลายรูปแบบ ก่อนทำธุรกิจสกรีนเสื้อให้ครอบคลุมก็ต้องศึกษาความรู้พื้นฐานของงานสกรีนเสื้อก่อน เพื่อให้เราเลือกประเภทของงานที่ตอบโจทย์ธุรกิจของเรา ซึ่งงานสกรีนเสื้อมีหลายประเภทหลักๆ ก็จะมี 3 ประเภทประเภทซิลค์สกรีน (Silk Screen) , ประเภท DTG (Direct to Garment), ประเภทรีดร้อน (Heat Transfer)